แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน
ตัวช่วยคุณครูในการหาคำตอบ
![]() จากการทดสอบของ http://www.amphur.in.th/wolfram-alpha-google-killer-review วิธีการค้นหาที่ search engine ตัวอื่นจะทำได้ยาก แต่ wolfram alpha ทำได้ง่าย1. Historical event การค้นหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต 2.Musical notation การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโน๊ตดนตรี 3.Drug information การค้นหารายละเอียดของยา หรือสารเคมี 4.Geography ภูมิศาสตร์ 5.Nutrition & Food เกี่ยวกับโภชนาการและอาหาร 6.Colors การค้นหาสี เหมาะสำหรับนักออกแบบ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์ 7. Physics & Mathematics การคำนวณทางฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ Wofram alpha สามารถคำนวณค่าต่างๆออกมาให้อย่างรวดเร็ว ข้อดีเราสามารถใช้อ้างอิงในการทำแบบฝึกหัดอย่างวิชา calculus หรือ โจทย์คณิตศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่อย่างเช่น ฟิสิกส์ที่ต้องมีการตีโจทย์ออกมาเป็นตัวแปลอยู่นั้นก็ต้องมีคิดก่อนนำมาคำนวณ ส่วนวิชาเคมี ก็สามารถช่วยได้ทั้งคำนวณ และหาคำตอบดูตัวอย่างวิธีการใส่ค่าเพื่อหาคำตอบได้ที่ http://www85.wolframalpha.com/examples/ ดูวิดีโอสาธิตการใช้งาน introducing wolfram alpha คลิกเข้าใช้งาน>>>> ที่มา : http://www.wolframalpha.com/ |
ตัวช่วยสร้าง Password
![]() คำถามที่คุณครูมักถาม ตอนที่สร้างบัญชีผู้ใช้ (Account) แล้วต้องกำหนด Password ก็คือ จะตั้งอะไรดี จะตั้งอย่างไรให้จำได้ และไม่โดน hack แต่สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ของคุณครูคือตั้งไปแล้ว "ลืม" ไชยกร อภิวัฒโนกุล ได้เสนอเทคนิคการตั้ง password ให้จำง่ายแต่ crack ยาก 5 เทคนิค ได้แก่ ตั้งจากวลีที่จำง่าย ใช้อักษรตัวแรกของคำจากวลี แทนสระหรืออักษรด้วยตัวเลขหรืออักขระพิเศษ กดปุ่ม “Shift” ค้างไว้ขณะที่กดตัวเลขบนแป้นพิมพ์ด้านบน และพิมพ์ไทย ได้อังกฤษ รายละเอียดศึกษาได้ข้างล่างนี้ แต่มี การให้บริการตั้ง password ผ่านเว็บไซต์ คุณครูเพียงแต่ กรอกชื่อพิเศษ คำพิเศษ และวันพิเศษ เว็บไซต์จะตั้ง password ที่จำง่ายแต่ยากที่ผู้อื่นจะเดา ลองดูนะครับ...>> http://www.passwordbird.com/ |
สร้างอีบุ๊คด้วย flipbooksoft ฟรี
![]() |
PISA โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ
![]() |
“กวดวิชา” ทำให้เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่?
![]() การศึกษาเป็นช่องทางในการสะสมทุนมนุษย์ เพราะความรู้จากการศึกษาส่งผลต่อผลิตภาพของตัวผู้ได้รับการศึกษาในเกือบทุกด้าน หากพิจารณาระดับการศึกษาคร่าวๆ ก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองระดับคือ ก่อนอุดมศึกษาและอุดมศึกษา โดยมีการสอบวัดความรู้ฯ เป็นปราการแบ่งแยกสองระดับที่ว่า “ภาพที่ ๑ จำนวนและร้อยละของผู้สมัครสอบวัดระดับความรู้ที่เรียนกวดวิชา” อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่มีนักเรียนมัธยมปลายเข้าเรียนกวดวิชาเป็นจำนวนมาก ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะแถบบ้านเราก็มีนักเรียนกวดวิชาจำนวนมากเช่นกัน ดังตารางที่ ๑“ตารางที่ ๑ ขนาดของการเรียนกวดวิชาในประเทศต่างๆ” มนชยา และ ศิวพงศ์ (2548) จึงตั้งคำถามต่อเม็ดเงินของระบบเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลนี้ว่า แท้จริงแล้วการกวดวิชาส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะในด้านหนึ่ง คุณภาพแรงงานและทุนมนุษย์เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาจากการศึกษา และการศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็ย่อมดีกว่าการศึกษาในระดับก่อนอุดมศึกษา แต่ในอีกด้านหนึ่ง การศึกษาก็มีต้นทุน ทั้งต้นทุนค่าจัดการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการศึกษา และค่าเสียโอกาสในการทำงาน ขณะที่การกวดวิชา แม้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายมหาศาลของสังคมเช่นกันการศึกษาอาศัยแบบจำลองรุ่นอายุเหลื่อมกันสองช่วงเวลา (Two-Period Overlapping Generation Model) ในการวิเคราะห์ โดยช่วงแรก (t=1) คือวัยเรียน และช่วงหลัง (t=2) คือวัยทำงาน คนที่เกิดมาจะเริ่มต้นจากวัยเรียนในช่วงแรก และเข้าสู่วัยทำงานในช่วงถัดไป จากนั้นจะตายตอนสิ้นสุดวัยทำงาน นอกจากนี้ ความสามารถของคนในระบบเศรษฐกิจมีตั้งแต่ต่ำสุด (j=0) ไปจนถึงสูงสุด (j=1) และกระจายแบบสม่ำเสมอ (Uniformly Distributed) ในวัยเรียน นักเรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาภาคบังคับอย่างเท่าเทียม ดังนั้น ทุกคนจะมีเวลาเหลือจากการเรียนเท่าๆ กัน พวกเขาสามารถเลือกเอาเวลาที่เหลือไปใช้ได้สองทาง หนึ่งคือเอาชั่วโมงไปเรียนกวดวิชา (v) โดยค่ากวดวิชาคิดตามเวลาที่ใช้ (T) (จ่ายค่ากวดวิชารวม = Tv) และสองคือเอาชั่วโมงไปทำงาน (1-v) ได้ค่าจ้างแรงงานระดับมัธยมศึกษา (W) (ได้ค่าจ้างรวม = (1-v)W) ซึ่งพวกเขาอาจจะใช้ทั้งหมดไปกับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมผสานทั้งสองอย่างก็ได้ เนื่องจากความสามารถของคนมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอ การกวดวิชาจะเข้ามามีบทบาททำให้ความสามารถของคนที่ไปกวดวิชาเพิ่มขึ้นได้ ดังสมการ เมื่อ ดังนั้น บุคคลที่ความสามารถเริ่มต้นต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถเรียนกวดวิชาเพื่อเพิ่มความสามารถของตนให้ถึงเกณฑ์ได้ด้วยการเรียนกวดวิชาเป็นเวลาเท่ากับ อย่างไรก็ดี ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์แล้ว คนที่มีความสามารถ j=1 จะไม่เรียนกวดวิชา เนื่องจากสอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาได้อย่างแน่นอน ขณะที่คนที่มีความสามารถ j=0 ก็จะไม่เรียนกวดวิชาเช่นกัน เพราะไม่สามารถสอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาได้อย่างแน่นอน ดังนั้น นักเรียนจะเลือกเรียนกวดวิชาตราบเท่าที่ความพึงพอใจจากการได้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาภายหลังกวดวิชาเท่ากับความพึงพอใจจากการทำงานโดยไม่เรียนต่อ “ห้องเรียนกวดวิชา” (ที่มาของภาพ) ผลได้ของระบบเศรษฐกิจของการเรียนกวดวิชาที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้นจะถูกส่งผ่านมาทางสมการการผลิตแบบ Cobb-Douglas ที่พิจารณาร่วมกับทุนมนุษย์ โดยสมมติให้ระบบเศรษฐกิจมีสินค้าชนิดเดียว (Yt) ที่ผลิตจากปัจจัยการผลิตสามประเภท ได้แก่ ทุนทางกายภาพ (Kt) ทุนมนุษย์ (Ht) และแรงงานอันประกอบด้วยแรงงานที่ไม่จบอุดมศึกษา (ltN) และแรงงานที่จบอุดมศึกษา (ltG) ซึ่งแรงงานที่ไม่จบอุดมศึกษาก็สามารถได้รับประโยชน์จากทุนมนุษย์ของแรงงานที่จบอุดมศึกษาบางส่วน ( อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถพิจารณาได้จากการเปลี่ยนแปลงค่าทุนนุษย์ โดยสมมติว่าทุนมนุษย์ไม่มีการเสื่อมค่า จะได้ว่า จัดรูปใหม่ได้ว่า โดย นั่นหมายความว่า การกวดวิชาสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นได้ และสาเหตุที่การเติบโตเพิ่มสูงขึ้นไม่มากนักก็เพราะคนที่เลือกเรียนกวดวิชามักจะเป็นคนที่มีความสามารถค่อนข้างสูงและมีโอกาสได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษาอยู่แล้ว ขณะที่คนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อก็จะเลือกไม่เรียนกวดวิชาตั้งแต่ต้น “เส้นทางชีวิตของคนในแบบจำลอง” นอกจากนี้ แบบจำลองยังทำให้เราตระหนักในอีกสามประเด็น ได้แก่– การเพิ่มจำนวนบัณฑิตให้มากขึ้นจากการลดเกณฑ์ขั้นต่ำ ( – หากไม่สามารถเพิ่มคุณภาพของการศึกษาภาคบังคับได้ การกวดวิชาก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียน และอย่างน้อยมันก็ก่อให้เกิดผลบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ – การให้น้ำหนักกับเกรดเฉลี่ยในการคัดเลือกเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ไม่สามารถลดปริมาณการกวดวิชาได้ ตราบใดที่ความต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษายังมีมากกว่าจำนวนที่นั่งอยู่ ที่มา : http://setthasat.com/2012/09/15/private-tutoring-and-economic-growth/ |
หนังสือวันเด็กปี 56 "ต้นกล้าของความซื่อสัตย์"
![]() ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อวันที่ 4 ม.ค.56 นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556 เรียบร้อยแล้ว โดยปีนี้ใช้ชื่อว่า "ต้นกล้าของความซื่อสัตย์" และได้นำภาพต้นกล้าหรือต้นอ่อนของต้นไม้ที่กำลังผลิดอก ออกใบ มีสีสันสดใสสวยงาม อยู่บนปุยเมฆขาวสะอาดตา ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ที่กำลังทอแสงในยามเช้า เปรียบเสมือนเด็กๆ ที่อยู่ในวัยที่มีความสดใส ร่าเริง พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ พร้อมทั้งคุณธรรม และความรู้ มาเป็นภาพหน้าปก "ต้นกล้า เปรียบเสมือนเด็กที่เราจะต้องดูแลและพัฒนา อีกทั้งสีเขียวของต้นกล้า ยังเป็นสีประจำหน่วยงานของ สพฐ.อีกด้วย ดังนั้นจึงใช้ต้นกล้าเป็นสัญลักษณ์เพื่อย้ำเตือนและสื่อไปถึงเด็ก เยาวชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยสาระสำคัญของเนื้อหาในหนังสือมุ่งเน้นส่งเสริมปลูกฝังให้เด็ก และเยาวชนไทย ได้พัฒนาและเติบโตมามีคุณลักษณะของคนที่มีความซื่อสัตย์ และมีคุณธรรมอยู่ในจิตใจ ซึ่งคุณธรรมที่ประเทศเราต้องการมากในขณะนี้คงเป็นเรื่องของความซื่อสัตย์" นายชินภัทร กล่าว เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า หนังสือวันเด็กปีนี้ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2528 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของหน้าที่ที่ทุกคนมีภาระต้องทำ หมายความว่าในสังคมไทยเรานี้ ผู้ใหญ่มีหน้าที่ในการประกอบภารกิจหน้าที่การงาน เด็กก็มีหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียน เพราะฉะนั้นทุกคนจำเป็นต้องระลึกถึงบทบาทหน้าที่ของตนและทำได้อย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้ยังได้อัญเชิญพระวรธัมโมวาท สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันเด็กแห่งชาติ ปี 2556 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า การที่จะให้เด็กเติบโตเป็นเด็กที่ดีและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ในวันนี้ ที่จะได้แสดงเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกว่าผู้ใหญ่ได้แต่สอน และผู้ใหญ่ก็ไม่ได้เป็นผู้ที่มีความประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นข้อย้ำเตือนว่าการที่จะส่งเสริมความดีนั้นต้องเป็นเรื่องของความปฏิบัติจริง และผู้ใหญ่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติที่ดีให้แก่เด็ก นายชินภัทร กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังมีคำขวัญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่มอบให้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556 ว่า "รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน" ทั้งนี้หนังสือวันเด็กได้จัดพิมพ์เป็นขนาด A5 จำนวน 128 หน้า พิมพ์ 4 สี จำหน่ายราคา 15 บาท และจะมีการแจกให้แก่เด็กและเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรมในวันเด็กในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ทำเนียบรัฐบาล สนามเสือป่า เป็นต้น |
สพฐ.เปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๖ เล่ม
![]() ดาวน์โหลด หนังสือ 6 เล่ม เกี่ยวกับ หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน หนังสือ จากปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติหนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน แบ่งเป็น 13 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 202 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง ดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.obec.go.th/documents/17910 หนังสือ จากปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วจะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 178 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง ดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.obec.go.th/documents/17907 หนังสือ เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วจะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 54 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง ดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.obec.go.th/documents/17905 หนังสือ เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 40 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง ดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.obec.go.th/documents/17904 หนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 150 หน้า แบ่งเป็น 3 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 150 หน้า พร้อมปกหน้า/หลัง ดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.obec.go.th/documents/17895 หนังสือ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 312 หน้า แบ่งเป็น 3 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 312 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง ดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.obec.go.th/documents/17892 |
“การบ้าน” ทำให้เด็กฉลาดขึ้นหรือไม่?
![]() เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเตรียมออกคำสั่งห้ามครูสั่งการบ้านนักเรียน เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้เด็กฉลาดขึ้น (ดูข้อมูลประกอบที่นี่) อันที่จริงประเด็นนี้เป็นที่สนใจกันมาพอสมควรแล้ว โดยจุดเริ่มต้นมาจากหนังสือที่มีชื่อเสียงมากสองเล่มคือ The Homework Myth ของ Alfie Kohn และ The Case Against Homework ของ Sara Bennett และ Nancy Kalish หนังสือทั้งสองเล่มได้ยกเอาข้อมูล สถิติ งานศึกษา และการสำรวจจำนวนมากเพื่อพยายามชี้ให้เห็นว่า “การบ้าน(ที่มากเกินไป)ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เด็กมีได้คะแนนสอบดีขึ้น” ข้อมูลที่น่าสนใจก่อนการวิเคราะห์ของหนังสือทั้งสองเล่ม ได้แก่ – จากการสำรวจเด็กอเมริกัน 24,000 คนในปี 2004 ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่า เด็กใช้เวลาทำการบ้านมากขึ้นกว่าในปี 1981 ถึง 51% – เด็กๆ ในชั้นเรียนระดับล่างจะมีอัตราการเพิ่มของการบ้านมากกว่าเด็กในชั้นเรียนที่สูงขึ้น – เด็กในช่วงอายุ 6-8 ปี ใช้เวลาทำการบ้านเพิ่มจาก 52 นาทีต่อสัปดาห์ในปี 1981 เป็น 128 นาทีต่อสัปดาห์ในปี 1997 และดูเหมือนว่าในปี 2006 จะเพิ่มเป็น 78 นาทีต่อวันเลยทีเดียว – ผลการสำรวจดังกล่าวไม่ได้ดูเหมือนเป็นจริงแค่ในสหรัฐอเมริกา เพราะประเทศที่ให้การบ้านน้อย(เกินไป) เช่น ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเชค และเดนมาร์ก จะมีคะแนนสอบมาตรฐานของเด็กสูงกว่าประเทศที่ให้การบ้านมาก(เกินไป) เช่น ไทย กรีซ และอิหร่าน นอกจากนี้ Cooper et. al (2006) ยังพบความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรงของการบ้านกับคะแนนสอบ นั่นคือ จำนวนการบ้านเป็นไปตามกฎของการลดน้อยถอยลง (Diminishing Return) ภาพที่ ๑ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการทำการบ้านกับคะแนนสอบมาตรฐานของเด็กเกรด 4, 8 และ 12 (เทียบได้กับเด็ก ป.4, ม.2 และ ม.6) ซึ่งผลได้ที่ลดน้อยถอยลงนั้นมีความชัดเจนมากในเด็กเล็ก แต่จะมีความอดทนมากขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้นตามอายุ(เกรด)“ภาพที่ ๑ ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการทำการบ้านกับคะแนนสอบมาตรฐานของเด็กเกรด 4, 8 และ 12″ ………. อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการบ้านอีกประการหนึ่งก็คือ อันที่จริงกระบวนการเรียนรู้ของเด็กควรเป็นแบบสม่ำเสมอและค่อยเป็นค่อยไป แต่การให้การบ้านของครูในแต่ละวิชานั้นมีแนวโน้มจะเป็นอิสระจากกัน จึงเกิดความล้มเหลวของการร่วมมือกันให้การบ้าน (Homework Coordination Failure) นั่นหมายถึง บางวันเด็กอาจจะมีการบ้านเยอะมาก บางวันก็อาจไม่มีเลย แทนที่จะกระจายอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าจะมีการโต้แย้งว่า การบ้านอาจไม่ได้มุ่งหวังแค่ผลสอบที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังเพื่อสร้างนิสัยรักการเรียนด้วย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ตามมาจำนวนมากก็ยังไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เพราะการบ้านมีแนวโน้มที่น่าจะทำให้เด็กไม่รักการเรียนมากกว่า นอกจากนี้ การบ้านยังทำให้เด็กมีโอกาสใช้เวลาในการออกกำลังกายน้อยลง มีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวน้อยลง และนอนน้อยลงด้วย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กและการเป็นคนที่สมบูรณ์ของสังคมในอนาคตไม่น้อยไปกว่าการเป็นคนเรียนเก่งอีกด้วย ทางออกที่ Kohn (ผู้เขียนหนังสือ The Homework Myth) เสนอคือให้ยกเลิกการบ้านไปเลย ขณะที่ Bennet and Kalish เสนอบนพื้นฐานงานวิจัยของ Cooper et. al (2006) ว่าให้มีการบ้านเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 10 นาที) และไม่ต้องมีการบ้านในช่วงวันหยุดยาวหรือสุดสัปดาห์ด้วย“ตัวอย่างของความล้มเหลวในการทำการบ้าน (ภาพจาก FaceBook ซึ่งไม่ทราบต้นตอแรกจริงๆ ครับ)” ………. แม้ว่าข้อเสนอแนะของหนังสือทั้งสองเล่มจะดูขัดแย้งกับสถานการณ์ของโลกความเป็นจริง(รวมทั้งสังคมไทย)ไปมากทีเดียว แต่มันก็น่าจะทำให้เราฉุกคิดหรือนำมาศึกษาในกรณีเฉพาะของสังคมเราบ้างว่า “การบ้านเป็นผลดีกับการศึกษาของเด็ก…จริงหรือไม่” และก็เป็นสิ่งที่น่าจะช่วยกันหาคำตอบต่อไป ^^ อ้างอิง :– Harris Cooper, Jorgianne Civey Robinson, and Erika A Patall (2006) Does Homework Improve Academic Achievement? A Synthesis of Research, 1987–2003. Review of Educational Research Spring 76: 1-62. – Alfie Kohn (2007) The Homework Myth: Why Our Kids Get Too Much of a Bad Thing. Da Capo Press. – Sara Bennett and Nancy Kalish (2007) The Case Against Homework: How Homework Is Hurting Children and What Parents Can Do About It. Three Rivers Press; Reprint edition. |
แปลงภาพถ่ายให้กลายเป็นภาพวาดได้ในพริบตาเดียว ด้วยโปรแกรม Dynamic Auto-Painter

Clip วิธีใช้งาน
ดาวน์โหลดโปรแกรม Fotosizer
![]() ดาวน์โหลด โปรแกรมใหม่ๆ โดย DownloadOop.com |